“ทรู คอร์ปอเรชั่น” ยันไม่ปลดพนักงาน มั่นใจลดหนี้ได้ เริ่มโรมมิ่งลูกค้า ทรู-ดีแทค ใช้คลื่นร่วมกัน
ผลสำรวจหลัง TRUE-DTAC ควบรวม พบ 81 % “เน็ตอืด -สัญญาณหลุดบ่อย”
ผ่านมาแล้วกว่า 10 เดือน นับตั้งแต่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรู (TRUE) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค (DTAC) ซึ่งเป็น2 บริษัทผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เข้าควบรวมกิจการได้สำเร็จ โดยกลายเป็นดีลใหญ่แห่งวงการโทรคมนาคมของไทย
ส่งผลให้ล่าสุด ทรู และดีแทค ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 66 มีจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมกัน 51.37 ล้านราย แบ่งเป็นระบบเติมเงิน 35.7 ล้ายราย และระบบรายเดือน 15.6 ล้านราย ขณะที่ธุรกิจออนไลน์มีผู้ใช้บริการรวม 3.7 ล้านราย
งบการเงินของ ทรู-ดีแทค หลังควบรวมกิจการ
– ปี 2565 มีรายได้รวม 218,205 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 5,913 ล้านบาท
– ปี 2566
- ไตรมาส 1 มีรายได้ 55,724 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,786 ล้านบาท
- ไตรมาส 2 มีรายได้ 49,816 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 2,316 ล้านบาท
- ไตรมาส 3 มีรายได้ 50,341 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,598 ล้านบาท
ก่อนนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มติเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่าง ทรู และ ดีแทค โดยมองว่าไม่เป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน ตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยนัยของผลตามข้อ 9 ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกํากับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม และให้พิจารณาดําเนินการตามประกาศฉบับปี 2561
ทั้งนี้กสทช.ได้พิจารณาข้อกังวล จึงกำหนดเงื่อนไขเฉพาะขึ้น เช่น กำหนดเพดานราคาอัตราค่าบริการลดเฉลี่ยลง 12 เปอร์เซ็นต์ การใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ ต้องให้บริการ 2 แบรนด์แยกกันเป็นระยะเวลา 3 ปี ห้ามแก้ไขสัญญาของผู้ใช้บริการ ให้ประชุมสัมพันธ์ให้ลูกค้ารับทราบถึงการคงไว้ซึ่งคุณภาพในการให้บริการและค่าบริการที่เป็นธรรม และจะต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานของบริการตามประกาศ กสทช. เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเริ่มกระแสข่าวการร้องเรียนเรื่องคุณภาพของสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ หลังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลสำรวจ พบว่าปัญหาใหญ่สุด 81% คือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า , สัญญาณหลุดบ่อย ,โปรโมชันเดิมหมดต้องใช้โปรโมชันที่แพงขึ้น, ค่าแพ็กเกจ ราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่มีทางเลือก, และ call center โทรติดยาก
ด้านสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยืนยันว่า ยังไม่พบปัญหาตามที่มีการร้องเรียนในทุกกรณี และจากการตรวจสอบคุณภาพสัญญาณยังไม่พบการให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานของผู้ให้บริการทุกเครือข่าย
ลุ้น บอร์ด กสทช. พิจารณาค่าบริการทรู-ดีแทค นัดสุดท้ายสิ้นปี
กสทช. แจงดราม่าควบรวมทรู-ดีแทค ทำสัญญาณล่มบ่อย ไม่พบค่าบริการแพง
AIS ฮุบ 3BBมูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาทนั่งบัลลังก์เจ้าอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในไทย
ผู้ให้บริการอินเทอร์บ้านรายใหญ่ที่สุดในไทยขณะนี้ คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เจ้าของเอไอเอส (AIS) หลังเข้าซื้อกิจการ 3BB ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์รายใหญ่ของไทย
โดยเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา AIS ประกาศความสำเร็จในการซื้อหุ้นสัดส่วน 99.99% ในบริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTTBB และเข้าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF) สัดส่วน 19% รวมมูลค่าทั้งหมด 28,341 ล้านบาท
AIS-3BB ขึ้นแท่นรายใหญ่เน็ตบ้าน 4.8 ล้ายราย ยันลูกค้าใช้แพ็กเกจเดิมต่อได้
ขณะเดียวกันได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่จากเดิม AIS Fibre และ 3BB กลายเป็น “AIS – 3BB FIBRE 3” ซึ่งทำให้มีผู้ใช้บริการบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในไทยรวมกัน 4.7-4.8 ล้านราย พร้อมทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์ไฟเบอร์และอินเทอร์เน็ตทุกพื้นที่ครอบคลุมกว่า 131,000 ตารางกิโลเมตร ใน 77 จังหวัด 923 อำเภอ 5,849 ตำบล และความสามารถในการรองรับการให้บริการกว่า 9.5 ล้านพอร์ททั่วประเทศ
งบการเงินของ ADVANC ในช่วง 4 ปีย้อนหลัง
- ปี 2562 มีรายได้ 181,740 ล้านบาท กำไรสุทธิ 31,819 ล้านบาท
- ปี 2563 มีรายได้ 173,720 ล้านบาท กำไรสุทธิ 27,434 ล้านบาท
- ปี 2564 มีรายได้ 182,605 ล้านบาท กำไรสุทธิ 26,922 ล้านบาท
- ปี 2565 มีรายได้ 186,142 ล้านบาท กำไรสุทธิ 26,011 ล้านบาท
งบการเงินของ TTTBB ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง
- ปี 2561 มีรายได้ 17,316 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,349 ล้านบาท
- ปี 2562 มีรายได้ 33,824 ล้านบาท กำไรสุทธิ 9,347 ล้านบาท
- ปี 2563 มีรายได้ 16,384 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 2,469 ล้านบาท
- ปี 2564 มีรายได้ 16,764 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 1,957 ล้านบาท
- ปี 2565 มีรายได้ 18,124 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 2,664 ล้านบาท
ทั้งนี้ กสทช.ได้กำหนดเงื่อนไขในด้านการบริการลูกค้า โดยห้ามเอไอเอสขึ้นราคาและลดคุณภาพของอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ รวมถึงให้คงแพ็กเกจเดิมของลูกค้าปัจจุบันเป็นเวลา 5 ปี พร้อมกับให้มีทางเลือกของราคาที่แยกรายบริการ
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เน็ตนับเป็นปัจจัยที่ 5 ของคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว และการควบรวมกิจการของเหล่าผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ก็ได้สร้างกระแสฮือฮาในสังคมไทยไม่น้อย หลังหลายปีที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดผ่านการจัดโปรโมชั่นราคาพิเศษดึงดูดลูกค้า เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามลูกค้าที่ใช้บริการก็เริ่มเกิดความกังวลกันแล้วว่า เมื่อผู้ให้บริการเริ่มลดน้อยลงอาจจะทำให้ราคาค่าบริการปรับสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ กสทช.ที่ต้องกำกับดูแลไม่ให้ผู้บริโภคต้องถูกเอารัดเอาเปรียบ และได้รับประโยชน์ที่เหมาะสมกับค่าบริการ
80 คำอวยพรปีใหม่ 2567 ความหมายดี ผู้ใหญ่เอ็นดู วัยรุ่นกดไลก์ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทางด่วนฟรี 7 วันรวดช่วงปีใหม่ 2567 เริ่ม 28 ธ.ค.66
โอนเงินชาวรอบที่ 3 กว่า 1.3 แสนครัวเรือน เป็นเงินกว่า 1,100 ล้านบาท